การจะใช้ Engine Breake ได้ดี มีประสิททธิภาพ ก็อยู่ที่การประเมินการขับขี่ เพื่อให้มีเวลาที่จะเลือกใช้ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ ณ.ช่วงเวลานั้นๆๆ
สำคัญมาก ความปลอดภัย การใช้ความเร็ว ที่เหมาะสม จังหวะ การขับขี่
อยู่ที่การประเมินคาดการณ์ สถานการณ์ ข้างหน้า มองให้ไกล และมีเวลาที่เรา มีสติ
จะตัดสินใจ ใช้อะไร รับสถานการณ์ ที่ จะเกิด ขึ้นข้างหน้า แล้วแต่สถานการณ์
ซื่ง ดีกว่า วิ่งเข้าไปแล้วไม่ทันตั้งตัว เอา....อยู่ ไม่...อยู่ ก็ว่ากันไป ไครจะใช้ ...
เบรค เพื่อหยุดรถในกรณีฉุกเฉินได้ดีกว่ากัน หรืออาจจะ.......ไม่ทัน......ได้เบรคเลย
*** ไม่ชัวร์ 50-50 อย่าเสี่ยง หรือวัดดวง .... อาจดวง.... ***
*** ส่วนใหญ่ รถยนต์ รถ ใหญ่ คนเดินถนนทั่วไป จะประเมินคาดการณ์ ความเร็วในการวิ่งมาถึงตัวของรถ BigBike
ต่ำกว่าความเป็นจริง ถ้าเทียบรถมอเตอร์ไซค์ทั่วไปกับรถBigBike เพราะความเร็วในการเข้าถึง...จะเร็วกว่ารถมอเตอร์ไซค์ทั่วไปมาก
ซึ่ง BigBike ที่เกิดเหตุส่วนใหญ่ คู่กรณี จะมองว่ามีระยะเวลาพอ... ก่อนที่รถ BB จะมาถึง ... แต่คิดผิด...ซะส่วนใหญ่
เพราะการมองระยะไกลๆๆ บางทีก็แยกไม่ออกว่า BigBike หรือรถมอเตอร์ไซค์ทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จุดกลับรถ U-turn ทางแยกต่างๆๆ ถนนซอยหรือที่เป็นเขตชุมชน ***
:10: *** เข้าเขต....เสี่ยง ปรับ Mode การขับขี่ ระมัด ระวังให้มากขึ้น ประเมินการขับขี่ทั้งเราและผู้อื่นรอบตัว
ปลอดภัยต่อตัวเราและผู้ร่วมถนน ***
การขับขี่ สองล้อ มีความเสี่ยง เนื้อหุ้มเหล็ก คนรอบตัว ใกล้ชิด คนข้างหลังจะห่วงมากกว่าปกติ
เราต้องปฎิบัติตัว.....ให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยง ......เพื่อที่จะ กลับไปหาคน .... ที่รอเราอยู่ :151: :151: :151: :125: :kiss: :125:
/// การประเมินขับขี่ ... ถนน 3 เลน ///
http://www.clubversysthailand.com/()/3-10492/ทุกท่าน มีเทคนิคขับรถอย่างไรให้ปลอดภัย ลดอุบัติเหตุครับ
สวมหมวก เสื้อเกราะ ถุงมือให้ครบ ศึกษาการขับขี่จากผู้รู้ ใช้ความเร็วไม่มากในเขตเมืองหรือตามที่กฏหมายกำหนด ถ้าต้องแซงมั่นใจก่อนว่าไม่มีรถสวน ที่สำคัญ
"รถร้อนได้ ใจคนอย่าร้อน
รถเร็วได้ ใจคนอย่าเร็ว
รถพังได้ คนอย่าพัง
เพราะรถซ่อมได้ คนซ่อมไม่ได้"
" การขับขี่รถทุกประเภทในประเทศไทยคงใช้คำนี้ครับ โง่ เซ่อ เน่า ครับ ไม่ได้แรงนะครับแค่เอาความจิงมาเล่าให้ฟัง "
" ขับรถอย่าเดา ไม่ชัวช้าไว้ก่อนครับ สติสำคัญที่สุดครับ เครื่องป้องกันไหนๆก็ไม่ช่วยครับ ถ้าไม่มีสติ ครับ "
" ไม่ขับเร็ว..ไม่จี้ตูด..สุดท้าย..ไม่ประมาทครับ.เมาไม่ขับนั่งแท๊กซี่กลับเอา "
" นึกไว้เสมอว่า
1. ต้องไม่ให้ล้ม นึกในใจไว้ ขับอย่างช้า แต่ ต้องไม่ช้าเกินไป
2. ต้องระวัง คันข้างๆๆ ใครเร็วก็ให้เขาไป
3. ต้องใช้สติกในการขับ มองหน้า ข้าง กระจก
4. ก่อนออกรถ หันหลังมองขวา ทุกครั้ง
5. อุปกรณ์ พื้นฐาน หมวก ชุด ต้องให้พร้อม
6. มั่นดูรถว่า มีอะไรที่ต้องบำรุงรักษา หรือไม่ รีบทำเมื่อพบ อย่าเลื่อน เพราะอาจจะไม่ทัน
ประมาณนี้ครับ "
" อีกอย่างก่อนออกบ้าน อย่าลืมใส่เต็มยศ แต่งตัวเหมือนจะไปรบครับ ...กันไว้ก่อน "
" มองไกลๆครับ ช้าๆ ถ้าชัวร์ค่อยบิด เดาทางรถคันหน้าและคันถัดไป และถัดไป "
" ในแง่ของเทคนิค ก็อยู่ที่การพัฒนาทักษะ การคุม การเข้าใจรถ ประกอบกัน
หมั่นใช้รถบ่อยๆ ออกทริปบ่อยๆ ประสบการณ์จะ ทำให้เราแกร่งขึ้น
กฎจราจร อย่าเสี่ยงในจุดที่ไปจำเป็นอย่างช่องแคบ หรือจุดอันตราย สมาธิ การมองไกล และวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดข้างหน้า "
" รู้จักตัวเอง รู้จักรถตัวเอง อ่านเกมบนท้องถนนให้ขาด = ไม่ประมาทนั้นเอง "
ยิ่งได้ใช้ควบคู่....การประเมินการขับขี่่ .... เพื่อ..ความปลอดภัย..ของตัวเราเอง
"
มองไกลๆครับ ช้าๆ ถ้าชัวร์ค่อยบิด เดาทางรถคันหน้าและคันถัดไป และถัดๆๆไป "
"
ในแง่ของเทคนิค ก็อยู่ที่การพัฒนาทักษะ การคุม การเข้าใจรถ ประกอบกัน
หมั่นใช้รถบ่อยๆ ออกทริปบ่อยๆ ประสบการณ์จะ ทำให้เราแกร่งขึ้น
กฎจราจร อย่าเสี่ยงในจุดที่ไปจำเป็นอย่างช่องแคบ หรือจุดอันตราย สมาธิ การมองไกล และวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดข้างหน้า "
" รู้จักตัวเอง รู้จักรถตัวเอง อ่าน...บนท้องถนนให้ขาด = ไม่ประมาทนั้นเอง "
การปรับเปลี่ยนวิธีการขับ โดยใช้ " S.E.E " เป็นข้อปฏิบัติในสถานการณ์ต่างๆ///////// การค้นหา
(Search)/////////////// การประเมิน
(Evaluate) ///////////////////// ปฎิบัติ
(Execute)
Search* มองกวาดทั่วๆรอบๆ มองให้ไกล เลยคันหน้า..ถัดไป ..ถัดไป .. ไม่เพ่งไปที่จุดใดจุดหนึ่ง มองไปมาตลอด
* สำรวจรอบๆ ทั้งสองด้าน ด้านหลัง หมั่นมองกระจกข้าง ทั้งสองข้าง เช็ครอบๆๆตัว
* คอยดูตำแหน่งรถ รถข้างๆๆ และการจราจรรอบตัว สภาพถนนที่น่าจะเกิดอันตราย คาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้น
* จุดสำคัญที่ต้องเลี่ยงอันตรายและช่องทางในการหลบหลีกหรือเลี่ยง
Evaluate* ดูว่ารอบตัวมีอะไรที่อาจจะเป็นภัยต่อเรา บริเวณที่มี ความเสี่ยงสูง
* ถนนและลักษณะของพื้นผิวของถนน มัน เงา ด้าน ลื่น เส้นแบ่งถนน นูน ฝาท่อ ต่างๆ ทราย คนข้าม ถนน หมา แมว
* รถตู้ รถเมล์ แว๊นซ์อื่นๆ รถยนต์ทั่วไป ท่าทีแต่ละคัน ตั้งท่าออก เปลี่ยนเลน ยังไง ให้คาดสถานการณ์ ล่วงหน้า เขตชุมชน
* จุดกลับรถ การกลับรถกะทันหันเป็นจุดสำคัญที่อันตรายมากที่สุด
Execute* หลบเลี่ยงจุดที่อาจจะเกิดอันตราย ทางร่วมทางแยก จุดกลับรถ ปรับตำแหน่ง และ/ หรือทิศทาง
* คาดการณ์ถึงปัญหาที่น่าจะเกิดอันตราย
* รถตั้งท่าจะเบี่ยง ก็เบรค หรือ ชะลอ แล้วหาทางหลบไปอีกทาง
* น้องหมาทำหน้างงๆ ก็ผ่อนซักนิด บีบแตรเตือนซักหน่อย
* รถตู้ เข้า-ออกป้าย ก็หลบๆซะนิด
นอกจากนั้นก็* สติ - ถ้าเป็นพวกขี่แล้วเหม่อ ก็ปรับตัวเอง สติ จดจ่อกับการจราจรรอบตัวข้างต้น
* ทักษะ - ฝึกเท่านั้น ระมัดระวัง ไม่ประมาท
* ความพร้อมที่จะล้ม (เครื่องป้องกัน ) "
****** ลดอันตรายและความรุนแรงของอุบัติเหตุให้น้อยลง โดยใช้ " S.E.E " มาช่วยในการวิเคราะห์ คาดการณ์ ดูว่า อะไรเกิดขึ้น เลือกตำแหน่ง ช่องเดินรถ ช่วยการมองเห็น ลดความเร็วลงเมื่อถึงจุดเสี่ยง จุดอันตราย ทางสี่แยก ( จุดบอด )/// การประเมินขับขี่ ... ถนน 3 เลน ///
http://www.er6thailand.com/board/index.php?topic=56843.0สำคัญมาก ความปลอดภัย การใช้ความเร็ว ที่เหมาะสม จังหวะ การขับขี่
อยู่ที่การประเมินคาดการณ์ สถานการณ์ ข้างหน้า มองให้ไกล และมีเวลาที่เรา มีสติ
จะตัดสินใจ ใช้อะไร รับสถานการณ์ ที่ จะเกิด ขึ้นข้างหน้า แล้วแต่สถานการณ์
ซื่ง ดีกว่า วิ่งเข้าไปแล้วไม่ทันตั้งตัว เอา....อยู่ ไม่...อยู่ ก็ว่ากันไป ไครจะใช้ ...
เบรค เพื่อหยุดรถในกรณีฉุกเฉินได้ดีกว่ากัน หรืออาจจะ.......ไม่ทัน......ได้เบรคเลย
***
ไม่ชัวร์ 50-50 อย่าเสี่ยง หรือวัดดวง .... อาจดวง.... ***
***
ส่วนใหญ่ รถยนต์ รถ ใหญ่ คนเดินถนนทั่วไป จะประเมินคาดการณ์ ความเร็วในการวิ่งมาถึงตัวของรถ BigBike
ต่ำกว่าความเป็นจริง ถ้าเทียบรถมอเตอร์ไซค์ทั่วไปกับรถBigBike เพราะความเร็วในการเข้าถึง...จะเร็วกว่ารถมอเตอร์ไซค์ทั่วไปมาก
ซึ่ง BigBike ที่เกิดเหตุส่วนใหญ่ คู่กรณี จะมองว่ามีระยะเวลาพอ... ก่อนที่รถ BB จะมาถึง ... แต่คิดผิด...ซะส่วนใหญ่เพราะการมองระยะไกลๆๆ บางทีก็แยกไม่ออกว่า BigBike หรือรถมอเตอร์ไซค์ทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จุดกลับรถ U-turn ทางแยกต่างๆๆ ถนนซอยหรือที่เป็นเขตชุมชน ***
แนะนำ ***
เข้าเขต....เสี่ยง ปรับ Mode การขับขี่ ระมัด ระวังให้มากขึ้น ประเมินการขับขี่ทั้งเราและผู้อื่นรอบตัว ปลอดภัยต่อตัวเราและผู้ร่วมถนน ***
/// การประเมินขับขี่ ... ถนน 3 เลน ///
http://www.er6thailand.com/board/index.php?topic=56843.0 
//////
เพราะ 2 ล้อ เนื้อหุ้มเหล็ก ยังไงก็เสี่ยง ประเมินความเสี่ยง หามาตรการลดความเสี่ยงให้ตนเอง เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง +++
ถ้าศึกษา แล้วสามารถสร้างกฎความปลอดภัย ให้กับตัวเอง ได้จะยิ่งดี เพราะ ความสามารถ ขีดจำกัด ต่างๆๆๆ ตนเอง รู้ดี่ที่สุด จุดเด่น จุดด้อย
พื้นฐาน ทักษะ การขับขี่ ยิ่ง BigBike สำคัญมาก การใช้เบรค การใช้คันเร่ง การประเมินสถานการณ์ขับขี่ รวมทั้งสมรรถนะความสมบูรณ์ของรถ
การขับขี่ในแต่ละสถานการณ์ การประเมิน ทั้งรถ ทั้งคน จะบอกคุณเอง
" สำคัญมาก คือเลี่ยงจุดบอด จุดอับสายตา ยิ่งขับเร็วๆๆ เท่าไหร่ ยิ่งอันตรายๆๆมากๆๆ ถ้าคุณมองไม่เห็นเหตุการณ์ข้างหน้าและรอบตัว "
/// บทสรุป คร่าวๆๆ [/color]ความผิดพลาดของผู้ขับขี่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุของรถ จักรยานยนต์ในประเทศไทย ไม่ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้นเกิดเฉพาะกับตนเองหรือเกิดร่วมกับผู้อื่น แต่ผู้ขับขี่เหมือนจะเป็นสาเหตุหลัก และไม่มีวิธีการแก้ไขใดๆหากไม่ทำความเข้าใจและสื่อสารกับผู้ขับขี่รถ จักรยานยนต์เหล่านี้โดยตรง เพราะว่าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยเริ่มขับรถจักรยานยนต์ตั้งแต่ อายุยังน้อย (บางคนอายุแค่ 13 ปีก็ขับแล้ว) และหลายคนก็ไม่ได้รับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นและการศึกษาเรื่องการขับ ขี่จึงจำเป็นสำหรับคนเหล่านี้
อุบติเหตุที่เกิดกับรถจักรยานยนต์หลายครั้งเกิดจากผู้ขับขี่ที่ไม่รู้ว่า พวกเขาฝ่าฝืนกฎจราจรและไม่รู้ด้วยว่าสิ่งที่ตนกระทำอยู่นั้น (การขับขี่) มีความเสี่ยงอันจะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ ฉะนั้นแล้วความรู้เบื้องต้นด้านความปลอดภัยจึงจำเป็นอย่างเห็นได้ชัด เทคนิคการขับขี่เชิงป้องกันอุบัติเหตุสำหรับรถจักรยานยนต์ก็มีอยู่เช่นเดียว กันกับรถยนต์และรถบรรทุก โดยวัตถุประสงค์ของการเรียนคอร์สหรือหลักสูตรนี้เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็น วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง กลยุทธ์ต่างๆ และเทคนิคที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ควรรู้สำหรับผู้ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ อยู่แล้ว
ลองพิจารณากันดูครับ กับรายละเอียดแต่ละบท....ตามลิงค์
หลักสูตรการขับขี่รถจักยานยนต์ โรงเรียนสอบขับรถ เซฟ ไดรฟเวอร์ เอดูเคชั่น
http://www.safedriver.co.th/-1-.htmlบทเรียนหรือหลักสูตรดังกล่าวประกอบด้วยบทเรียนย่อย 6 บท ดังต่อไปนี้
บทที่ 1 การเข้าใจความเสี่ยง
บทที่ 2 การจัดการความเสี่ยง
บทที่ 3 ความพร้อมในการขับขี่
บทที่ 4 การขับขี่รถจักรยานยนต์
บทที่ 5 การลดความเสี่ยง
บทที่ 6 การปรับพฤติกรรมผู้ขับขี่
คอร์สที่กล่าวมาข้างต้นนี้เน้นให้ทราบถึงอันตรายเนื่องจากการขับขี่เมื่อ สมรรถนะทางร่างกายไม่พร้อมอันนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง โดยแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยหนึ่งที่การบังคับด้วยกฎหมายคิดว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ สมรรถภาพด้านร่างกายลดลงเมื่อขับขี่ในประเทศไทย แต่ที่จริงมีมากกว่านั้น
การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่มีอิทธิพลต่อทัศนะคติและให้ความรู้หรือข้อมูล นอกเหนือจากประสบการณ์จริง การขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่นั้นศึกษาจากประสบการณ์ตรงแต่เรื่องความ ปลอดภัยนั้นจะต้องถ่ายทอดด้วยทางอ้อม โดยไม่จำเป็นต้องเอาชีวิตไปเสี่ยง เพื่อให้เกิดประสบการณ์แก่ตัวเอง
หลักสูตรนี้ได้อ้างถึงอันตราย ความเสี่ยงที่เกิดจากการขับขี่ การดื่มเหล้าขณะขับมอเตอร์ไซด์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ต้องออกกฎหมายควบคุม แต่ก็ไม่ได้มีเพียงแค่สาเหตุเดียว ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือผลกระทบที่เกิดจากลักษณะอุบัติเหตุในประเทศไทย
การศึกษาก็มีส่วนช่วยโดยจะมีอิทธิพลต่อทัศนะคติ และเปลี่ยนความรู้ที่ไม่ได้รับจากประสบการณ์โดยตรง ทักษะส่วนมากได้มาจากประสบการณ์โดยตรง ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะผลตอบกลับมาโดยตรงนั้น มันมีค่ามากสำหรับชีวิต
บทที่ 6 การปรับพฤติกรรมผู้ขับขี่
ประสิทธิภาพของผู้ขับขี่แสดงถึงทักษะการรับรู้ในการขับและความชำนาญของ ผู้ขับขี่นั้นๆ (สิ่งที่ผู้ขับขี่สามารถทำได้) ส่วนพฤติกรรมของผู้ขับขี่แสดงถึงสิ่งที่ผู้ขับขี่ได้แสดงออกหรือปฏิบัติจริง ความแตกต่างระหว่างประสิทธิภาพและพฤติกรรมเป็นแนวคิดสำคัญด้านความปลอดภัยบน ท้องถนน ผู้ขับขี่จะเลือกตัดสินใจในระดับความยากง่ายเอง เช่น เลือกขับเร็วขึ้น ขับแทรกไปในการจราจรที่หนาแน่น หรือขับตัดหน้ารถคันอื่น ซึ่งผู้ขับขี่แต่ละคนจะเป็นคนเลือกระดับความเสี่ยงเอง
โดยส่วนใหญ่แล้วคนขับขี่รถจักรยานยนต์เชื่อว่าพวกเขานั้นขับเก่งกว่าผู้ อื่น โดยเฉพาะวัยรุ่นชายในประเทศไทย ที่คิดว่าตัวเองมีความเสี่ยงทางอุบัติเหตุน้อยกว่าคนอื่น ในทางกลับกันประสบการณ์ก็ไม่ได้เปลี่ยนทัศนะผู้ขับขี่เหล่านี้ได้ และแนวโน้มความคิดเช่นนี้ที่ว่าตัวเองมีความปลอดภัยกว่าผู้อื่นทำให้ พฤติกรรมของผู้ขับขี่มีความรอบคอบน้อยลง
ความเชื่อของผู้ขับขี่วัยรุ่นทั้งหลายทำให้เกิดประเด็นสำคัญ 2ประเด็นเพื่อให้ผู้ขับขี่แต่ละรายได้นำไปพิจารณา
ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์อื่นๆที่ร่วมทางกับคุณส่วนใหญ่ก็คิดว่าพวกเขาขับเก่งขับดีกว่าคนอื่น
เป็นไปได้ว่าการประเมินความปลอดภัยและทักษะการขับตนเองนั้น อาจเขวหรือเข้าข้างตัวเองเสียมากกว่าและเช่นเดียวกันกับผู้ขับขี่คนอื่นๆ
เพื่อกระตุ้นให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เปลี่ยนพฤติกรรม เราควรศึกษาและมององค์ประกอบหลายอย่างที่มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่นดังต่อไปนี้
“เราขับรถเช่นเดียวกับเราใช้ชีวิต” ถ้าหากคุณใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง อดทน และใส่ใจกับคนรอบข้าง แล้วการขับขี่รถของคุณก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับที่คุณใช้ชีวิต แต่หากการใช้ชีวิตของคนตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาข้างต้นแล้วแน่นอนว่าการขับ รถของคุณก็จะมีลักษณะที่ตรงกันข้ามเช่นเดียวกัน ขับขี่ด้วยความก้าวร้าว เย่อหยิ่ง และมีความเสี่ยงสูง ซึ่งจะเป็นผลให้คุณมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุสูงตามมา
ความสุขุมรอบคอบและความฉลาด- เมื่อเปรียบเทียบผู้ขับขี่ที่มีความปลอดภัยกับผู้ขับขี่ที่มีความเสี่ยงทาง อุบัติเหตุที่สูง จะเห็นว่าผู้ขับรถที่มีความเสี่ยงทางอุบัติเหตุสูงจะมีความสุขุมรอบคอบและ ความฉลาดน้อยกว่า แสดงออกในทางลบ ขัดต่อกฎหมายและสังคม เข้ากับสังคมไม่ได้
ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย- ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ดีนั้นจะปฏิบัติตามกฎจราจรและควบคุมพฤติกรรมของตน เองได้โดยไม่ต้องให้ตำรวจหรือกฎหมายมาคอยบังคับ ทั้งหลายนี้คือ ความรับผิดชอบของบุคคลเมื่อขับขี่ และเป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญที่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ควรต้องเรียนรู้
การแสวงหาความสุขและความตื่นเต้น-สิ่งที่กระทบต่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้:o การแข่งขัน
o ความเชื่อมั่นในอำนาจและการควบคุมอำนาจ
o การแสวงหาความสุขเพื่อผลประโชน์ส่วนตัว
ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจะมีบทบาทสำคัญต่อการเกิดอุบัติเหตุของผู้ขับขี่รถ จักรยานยนต์ที่เป็นวัยรุ่นชาย ซึ่งผู้ขับขี่เหล่านี้จะชอบโชว์และอวด เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้หญิง เพื่อสร้างความตื่นเต้นและแสดงความกล้า
การฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตายด้วยรถจักรยานยนต์นั้นเป็นวิธีหรือสิ่งที่ไม่น่ายินดีสรรเสิญใน การทำลายตัวเอง ซึ่งในประเทศไทยยังไม่เคยมีการประมาณการร้อยละของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ โดยรถจักรยานยนต์ที่มาจากการฆ่าตัวตาย แต่สถิตินี้ควรเป็นข้อมูลเพื่อนำมาพิจารณาและศึกษา
ความเร็วและความเสี่ยงในการชน-หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุต่อการ เลือกใช้ความเร็วที่ไม่เหมาะสมคือการคาดการณ์สถานการณ์ต่ำเกินไปซึ่งอาจทำ ให้ผู้ขับเสียชีวิตได้ ความเร็วที่ผู้ขับขี่เลือกใช้นั้นขึ้นอยู่กับความพอใจมากกว่าประโยชน์ที่จะ ได้รับทั้งนี้เพื่อประหยัดเวลา อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ความเร็วนั้นมีผลต่อความเสี่ยงในการชน การบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นอย่างมาก
ลักษณะนิสัยอย่างหนึ่งของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในประเทศไทยคือการมี วัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญของการเกรงใจผู้อื่น ฉะนั้นแล้ววัฒนธรรมตรงนี้ควรจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ขับขี่รถ จักรยานยนต์ในประเทศไทยลดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุอันจะนำการบาดเจ็บหรือสูญ เสียให้เกิดกับบุคคลอื่น และสิ่งนี้เองที่จะเป็นจุดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์วัยรุ่นทั้งหลายควบคุม ตนเองได้ ควรมีความเมตตาเห็นอกเห็นใจกันมากกว่าการที่จะถือเอาประโยชน์ของตนเป็นหลัก หรือความเห็นแก่ตัว
คงเป็นการลำบากมากที่จะทำให้คนขับขี่รถจักรยานยนต์วัยรุ่นทั้งหลายไม่ เลียนแบบหรือชื่นชมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์อื่นๆที่ขับขี่รถด้วยความเสี่ยง ต่ออุบัติเหตุหรือท้าทายกฎหมาย ควรเน้นตรงที่ว่าทำไมควรต้องขับรถแบบนี้และผลที่เกิดตามมาอาจปลอดภัยกว่า อย่างที่ได้กล่าวไว้ก่อนนี้ว่าปัญหาการเกิดอุบัติเหตุของรถจักรยานยนต์นั้น เกิดจากผู้ขับขี่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูกแต่ก็ยังฝืนทำ มากกว่าเกิดจากคนที่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร
รูปแบบชีวิตที่เสี่ยงท่ามกลางผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ทั้งหลายยังมีผู้ขับขี่กลุ่มหนึ่งที่ เจตนาเอาตัวเองเข้าเสี่ยงต่ออุบัติเหตุเมื่อขับขี่รถ โดยมีผลทำให้เกิดอุบัติเหตุและการฝ่าฝืนกฎจราจร พฤติกรรมเสี่ยงดังกล่าวนี้ไม่เพียงแต่กิดขึ้นบนท้องถนนเท่านั้นแต่ยังเกิด ขึ้นกับรูปแบบการใช้ชีวิตของพวกเขาด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเสพย์ติด ดื่มแอลกอฮอล์และก่ออาชญากรรม การแสดงออกอันแสดงถึงการเข้าสังคมไม่ได้และพฤติกรรมที่มีเสี่ยงอาจเกิดจาก บุคลิกลักษณะส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อม
คำว่าความเสี่ยงครอบคลุมทั้ง 2 อย่างคือ เสี่ยงโดยที่ผู้ขับรี่รับรู้ด้วยตนเองและเสี่ยงโดยสภาพแวดล้อม
ผู้ ขับขี่รถจักรยานยนต์นั้นมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุและบาดเจ็บมากกว่าเพราะ ลักษณะของการขับรถจักรยานยนต์เองและสภาพของยานพาหนะ โดยรถจักรยานยนต์จะปกป้องผู้ขับขี่ได้น้อยมากหากเกิดอุบัติเหตุ และแถมยังมีการโดยสารคนอื่นด้วย เช่นเพื่อน เด็กและผู้โดยสาร
ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์นั้นต้องเผชิญความกดดันรอบข้าง มีหลักฐานแสดงให้เห้นว่าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์วัยรุ่นบางคน-คนที่มี พฤติกรรมการขับที่มีความเสี่ยงสูง และเห็นความท้าทายที่แสดงออกโดยบุคคลอื่นเป็นสิ่งที่ควรทำตาม สิ่งเหล่านี้เมื่อบวกกับสถานภาพทางสังคมและความกดดันจากรอบข้างแล้วจะเป็น การเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นในกลุ่มนั้นไปมีอิทธิพลทั้งบวกและลบกับผู้ขับขี่ วัยรุ่นเหล่านั้น
ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยทั่วไปแล้วจะสามารถแยกแยะระยะอันตรายได้น้อย มองเห็นความเสี่ยงได้น้อยในสภาพต่างๆ และเหมือนว่าเขาเหล่านี้จะขัดแย้งกับผู้ขับขี่คนอื่นและคนขับรถคันอื่น เช่น ขับปาดหน้าในระยะใกล้และแทรกในช่องว่างแคบๆเมื่อเข้าร่วมการจราจร
การเรียนขับรถเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้วิธีในการสร้างสัมพันธ์กับบุคคล อื่นบนถนน แต่มากกว่าเทคนิคเบื้องต้นในการเข้าสังคมร่วมกับผู้ขับขี่คนอื่นแล้ว ยังมีมิติด้านการสื่อสาร เช่น รู้ว่าจะต้องทำอะไร และจะสื่อสารเมื่อไหร่อย่างไร และแปลความหมายของข้อความหรือข้อมูลที่รับมาจากคนอื่น โดยเครื่องมือในการสื่อสารก็มีตั้งแต่ ไฟเลี้ยว ไฟหน้า ไฟเบรก ไฟส่อง แตรและการสื่อสารทางตาหรือมือ หรือแม้แต่ท่าทีของรถคันอื่น เช่นการโผล่หัวออกจากที่จอด การเคลื่อนตัวของรถ ผู้ขับขี่ที่ดีจะต้องเรียนรู้และแปลข้อมูลจากสิ่งต่างๆเหล่านี้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และวิธีการนำไปใช้กับตัวเขาเอง
การเรียนขับรถจักรยานยนต์ไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์หรือหนึ่งแต่เริ่มต้นจาก ภูมิหลังของบุคคลโดยมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องหลายอย่าง เช่นเรียนจากการเห็นคนอื่นขับ ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่แล้วมีประสบการณ์ต่างกัน และต้องเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆในสภาพการจราจร บางคนได้ประสบกรณ์จาการดูหนัง ความรู้ดังกล่าวนี้สำคัญต่อการพัฒนาการขับขี่ให้ปลอดภัยเพราะจะทำให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมเหตุการณ์ เช่น “ถนนนี้มีความลื่น ถ้าหากเบรคแรงการเสียการควบคุมได้”
**** จง..เรียน เพื่อ..รู้ จงดู เพื่อทำ แล้วปฏิบัติ..ให้.....ชำนาญ และเชี่ยวชาญ ****