***
สำคัญมาก การแบนโค้ง มากน้อยแค่ไหน ท่าทางการควบคุมรถ การขับขี่เวลาเข้าโค้ง
ด้วยความเร็วต่างๆกัน มีผลมาก เป็น Basic ที่ไม่ควรลืม ***
อุบัติเหตุส่วนใหญ่ของมอเตอร์ไซค์ ก็มาจากการเข้าโค้งที่ไม่ถูกต้อง***
การรับรู้...และสัมผัส....แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ของรถ...ในโค้ง ปรับท่าทาง...ให้เหมาะสมและพอดี
"การเข้าโค้ง เข้าให้ช้า .... ออกให้ไว " จะช่วยในการเข้าโค้งได้....ปลอดภัย....และง่ายขึ้น ***
เหตุการณ์นี้อธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ง่ายๆ คือ วัตถุวงกลม (ซึ่งก็คือล้อรถ) จะรักษาสภาพการเคลื่อนที่ไว้เสมอตราบใดที่ยังมีแรงเคลื่อนที่อยู่ เช่น เหรียญบาทที่กำลังกลิ้ง เมื่อหมดแรงถ้ามันบิดไปทางขวาก็จะล้มซ้าย ถ้าบิดซ้ายจะล้มขวา พอนึกภาพออกไหมครับ รถมอเตอร์ไซค์ก็เป็นเช่นเดียวกันhttp://www.youtube.com/watch?v=PgUOOwnZcDUhttp://www.youtube.com/watch?v=KrSEmsmj8Bw 
***
ลองฝึกและปฏิบัติให้คล่อง จะช่วยให้ขับขี่ง่าย....สนุก และปลอดภัย...มากขึ้น ***
ทำให้เกิดเทคนิคการเข้าโค้งเพื่อรักษาสมดุลและเพื่อความปลอดภัยในการเข้าโค้ง แต่ก่อนที่จะพูดถึงเทคนิคการเข้าโค้งนั้น เราจะพูดถึงลักษณะและท่าทางในการเข้าโค้งกันก่อน

นี่คือท่าทางในการควบคุมรถในการขับขี่เวลาเข้าโค้งด้วยความเร็วต่างๆกันเนื่องจากท่าทางการขับขี่ขณะเข้าโค้งนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ แต่ละแบบให้ความปลอดภัยและมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน โดยจะแบ่งตามลักษณะท่านั่ง
ของผู้ขับขี่ที่เป็นส่วนสำคัญในการบังคับควมคุมรถแบ่งออกเป็น 4 แบบคือ1. แบบ Lean-out การเข้าโค้งแบบนี้ผู้ขับขี่จะถ่วงน้ำหนักตัวค่อนไปทางด้านนอกโค้ง โดย
ตัวรถจะเอียงเข้าไปด้านในโค้งเล็กน้อย ซึ่งจะเหมาะสำหรับสภาพผิวทางโค้งที่ลื่นไถลได้ง่าย การเข้าโค้งในลักษณะ Lean-out จึงพบมากในการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์วิบาก
เนื่องจากสามารถควบคุมรถแม้เมื่อเกิดการลื่นไถลได้ดี
2. แบบ Lean-with การเข้าโค้งแบบนี้ผู้ขับขี่จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวรถ กล่าวคือทั้งรถและผู้ขับขี่จะเอียงไปเท่าๆกัน ซึ่งเหมาะสำหรับ
การใช้งานปกติเพราะผู้ขับขี่สามารถเปลี่ยนทิศทางและควบคุมรถได้ง่าย มือและเท้ายังคงทำงานได้อย่างสะดวก เป็นท่าทางการเข้าโค้งแบบมาตรฐานของการขับขี่
แบบปลอดภัยในชีวิตประจำวัน
3. แบบ Lean-in การเข้าโค้งแบบนี้ผู้ขับขี่จะถ่วงน้ำหนักไปทางด้านในโค้งโดยเอียงมากกว่าตัวรถเล็กน้อย เหมาะสำหรับการเข้าโค้ง
ที่ต้องการความเร็วและมั่นใจในการยึดเกาะของรถได้ การเข้าโค้งแบบนี้จะให้ความคล่องตัวในการบังคับควบคุมน้อยกว่าแบบ Lean-with
4. แบบ Hang-on การเข้าโค้งแบบนี้ผู้ขับขี่จะถ่วงน้ำหนักตัวไปด้านในโค้งมากจนอยู่ในลักษณะโหนรถ เพื่อเอาชนะแรงเหวี่ยงมากๆ
จากการเข้าโค้งด้วยความเร็วสูง การเข้าโค้งแบบนี้ผู้ขับขี่จะสามารถควบคุมรถได้ยากไม่เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานปกติส่วนมากแล้วจะใช้เฉพาะในสนามแข่งทางเรียบเท่านั้น
จากท่าทางการเข้าโค้ง 4 แบบที่กล่าวมา เราจะพบว่าการขับขี่เข้าโค้งแบบ Lean-with เป็นท่าที่เหมาะสมและให้ความปลอดภัยมากที่สุด
ตลอดจนเป็นท่าทางที่ต่อเนื่องมาจากท่าทางการขับขี่ปกติ ผู้ขับขี่จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนท่าก่อนหรือในขณะเข้าโค้ง กล่าวคือ เท้าทั้งสองอยู่บนพักเท้า หัวเข่าแนบกระชับถังน้ำมัน
แต่ที่แตกต่างออกไปก็คือจากที่รถอยู่ในลักษณะตั้งตรงมาอยู่ในลักษณะเอียงและที่สำคัญก็คือไม่ว่าจะเอียงมากน้อยแค่ไหน ศีรษะจะต้องตั้งตรงเท่านั้น การที่ศีรษะตั้งตรงนี้ทำให้เรา
สามารถอ่านเหตุการณ์ข้างหน้าและรักษาสมดุลของร่างกายกับตัวรถได้
ในการเข้าโค้งแต่ละโค้งนั้นเทคนิคสำคัญก็คือ “ไลน์” หรือทางวิ่งที่เหมาะสมเพื่อให้รัศมีของการเข้าโค้งกว้างขึ้น จึงต้องมีการกำหนด “ไลน์” ของโค้งก่อนเสมอ ซึ่งวิธีกำหนดไลน์
ที่นิยมและได้ผลดีที่สุดก็คือ ไลน์out-in-out กล่าวคือสมมติเราเข้าโค้งด้านซ้ายเราจะชิดขวาก่อนเข้าโค้งค่อยๆเอียงรถเข้าด้านในโค้ง และเร่งออกจากโค้งช้าๆ ทั้งนี้ผู้ขับขี่จะต้อง
ใช้ความเร็วที่เหมาะสมตลอดจนสังเกตความกว้าง , แคบของโค้งจึงจะสามารถเข้าโค้งได้อย่างราบรื่นสม่ำเสมอ เพราะถึงแม้ว่าจะมีความชำนาญมากแต่ถ้าใช้ความเร็วสูงเกินไป
ก็จะทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย
หลักการในการเข้าโค้งที่ถูกต้อง
http://www.youtube.com/watch?v=VAlA-8yH_u8credite:Aot Phitsanulok rider
การเข้าโค้งอย่างปลอดภัย มีองค์ประกอบหลักสำคัญอยู่ 3 ประการคือ ความเร็ว , การเตรียมตัวก่อนเข้าโค้ง (เบาเครื่อง , เบรก , เปลี่ยนเกียร์ และการใช้สายตา) ประการสุดท้ายก็คือ การเร่งเครื่องออกจากโค้ง ซึ่งสรุปเทคนิคการเข้าโค้งโดยย่อได้เป็นขั้นตอนดังนี้
1.ลดความเร็วให้เหมาะสมตั้งแต่อยู่ในทางตรงก่อนเข้าโค้ง ถ้าเป็นโค้งที่ไม่เคยผ่านมาก่อนต้องลดความเร็วมากเพื่อความปลอดภัย (ยิ่งเร็วก็ต้องยิ่งเอียงรถมากด้วย)
2.ใช้สายตามองเข้าไปในโค้งเพื่อดูสภาพผิวทางให้แน่ใจก่อนที่จะเอียงรถเข้าไป
3.เมื่อเอียงรถเข้าไปแล้วพยายามรักษาลักษณะท่านั่งและความสมดุลของแรงเหวี่ยงเอาไว้ และใช้คันเร่งช่วยเบาๆเมื่อทำท่าจะเสียสมดุลพับลงในโค้ง (แสดงว่าใช้ความเร็วน้อยไป) สายตามองไกลออกจากโค้งอย่าก้มหน้ามองอยู่ในโค้งหรือหน้ารถ อย่าเกร็งหรือปล่อยตัวตามสบายจนเกินไปเพราะจะทำให้การบังคับควบคุมไม่ดีพอ อาจจะแหกโค้ง หรือเสียการทรงตัวอยู่ในโค้ง
4.เมื่อกำลังจะผ่านโค้งหรือมองเห็นทางข้างหน้าแล้วจึงค่อยๆเร่งเครื่องเพื่อเพิ่มความเร็วและเพื่อให้ตัวรถตั้งตรงขึ้น หลีกเลี่ยงการเร่งเครื่องยนต์รวดเร็วเพราะจะทำให้เกิดการลื่นไถลได้ง่าย และรักษาขอบเขตของความปลอดภัยในขณะเข้าโค้งอย่างสม่ำเสมอ (รู้ขีดความสามารถของตัวเองและรถ) ที่สำคัญห้ามบีบคลัทช์ขณะเข้าโค้งโดยเด็ดขาด
เทคนิคอีกอย่างในการขับขี่ที่ถูกต้องและปลอดภัย คือการคาดคะเนระยะทางการใช้ความเร็ว และการตัดสินใจ
ซึ่งทั้งสามอย่างสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันโดยตลอด
ท่าทางในการควบคุมรถในการขับขี่เวลาเข้าโค้งด้วยความเร็วต่างๆกัน
เพื่อให้สามารถควบคุมรถอยู่ได้ แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ได้ถือว่าปลอดภัยไปทั้งหมด เพราะต้องเรียนรู้
ในการใช้เบรค ใช้คลัตช์ ใช้คันเร่ง ในโค้งด้วย เพื่อประกอบในในการเข้าโค้งได้ดี...
ในความเร็วต่ำๆ คงไม่เท่าไรครับ แต่ถ้ารถใหญ่ๆและใช้ความเร็วสูงๆ
ต้องเรียนรู้ การใช้ เบรค คลัตช์ คันเร่ง Engine Brake ให้แม่นๆ ไม่งั้นมีเก็บเห็ดข้างทางแน่ๆ...
//// 10 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับมอเตอร์ไซค์ ////
http://www.er6thailand.com/board/index.php?topic=57365.0
วันนี้เราเปลี่ยนบรรยากาศมาเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อบ้างนะครับ หลายๆคนอาจจะมีความคิดเหล่านี้อยู่ในหัว นำบทวิเคราะห์มาให้อ่านนะครับว่าสิ่งที่เราเชื่อนั้นจริงหรือไม่
ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการใช้ Engine Brake [/b]
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเมื่อวิ่งมาเร็วๆ แล้วจะลดความเร็ว ให้ลดเกียร์ลงเพื่อดึง Engine Brake มาใช้ ... อยากบอกไว้ตรงนี้เลยว่าเป็นความเข้าใจที่ "ผิด" ผิดชนิดฝังหัวตั้งแต่รุ่นปู่ยันรุ่นหลานเลยล่ะ จริงๆ แล้วถ้าจะลดความเร็วให้ใช้ "เบรค" ไม่ใช่ให้ลดเกียร์ (แม้แต่นักแข่งระดับโลกยังไม่มีใครเขาทำกัน) จะเบรคมือหรือเบรคเท้าก็ว่ากันไปตามสูตรเบรคหน้า 70% หลัง 30% หรือถ้ารถใครมีระบบกระจายแรงเบรคก็สบายไป แต่หลักๆ แล้วจะใช้เบรคหน้ามากกว่าหลังเสมอ
การวิ่งมาเร็วๆ แล้วลดเกียร์ลงในทันทีจะทำให้รอบเครื่องดีดขึ้นสูงอย่างฉับพลัน เกิดแรงกระชากมหาศาลภายในเครื่องยนต์ ฟันเฟืองเอย เพลาเอย ข้อเหวี่ยงเอย โซ่ สเตอร์ ฯลฯถึงแม้ไม่ทำให้เครื่องพังในทันทีแต่ย่อมมีการสึกหรอตามมาอย่างแน่นอน สาเหตุจากถูกกระชากอย่างรุนแรง เมื่อรอบเครื่องทำงานไม่สัมพันธ์กับความเร็ว อัตราการหมุนของล้อก็ไม่สัมพันธ์กับระยะทางที่วิ่ง เกิดอาการที่เรียกว่า skid เสียงยางดังเอี๊ยดๆๆๆ คือล้อหมุนช้ากว่าระยะทางที่เคลื่อนที่ไป ทำให้ยางดีดเด้ง ไม่จับกับพื้นถนน สะบัดซ้ายทีขวาที สูญเสียการควบคุมซึ่งอันตรายมากครับ ซึ่งผิด
การเบรคที่ถูกต้องทำอย่างไร ง่ายๆ ครับ
1.
ปิดคันเร่งให้สุด เพื่อเรียก Engine Brake มาหน่วงให้รถไหลช้าลง ที่สำคัญ "ห้ามกำคลัชต์เด็ดขาด" เพราะเป็นการตัด Engine Brake โดยสิ้นเชิง
2.
แตะเบรคหลัง เพื่อถ่ายน้ำหนักมาล้อหลัง แล้วจึง...
3.
แตะเบรคหน้า เพื่อหยุดรถ
ทั้งหมด 3 ข้อนั้นจะเกิดขึ้นภายในเวลาเพียงเสี้ยววินาที ทำ 3 อย่างนี้พอ ไม่ต้องมัวไปปลี่ยนเกียร์ให้เสียเวลา เสียสมาธิ ฝึกให้คล่องแล้วเวลาใช้จริงจะเป็นการเบรคที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้จำไว้ว่าระบบเบรคหลักคือเบรคหน้า เบรคหลังไว้ช่วยทรงตัว และ Engine Brake คือตัวเสริม และเมื่อความเร็วลดลงจนถึงระดับที่ปลอดภัยแล้วจึงเปลี่ยนเกียร์ให้เหมาะสมกับความเร็ว เพื่อไปต่อ Brake to slow, Gear to go. แค่นั้นเอง
Example การใช้ Engine Brake http://www.youtube.com/watch?v=H_cPblE6my4http://www.youtube.com/watch?v=MT2M9GyKSyc&feature=youtube_gdata_playerhttp://www.youtube.com/watch?v=BCd0bwqfEUohttp://www.youtube.com/watch?v=g3gH_362QfMhttp://www.youtube.com/watch?v=0u9R3h9iHwM :10:
/// Engine Brake //// ที่นิยมใช้คือ ในทางราบ และในทางลาดชัน ทางขึ้นเขา ลงเขา :125:
:125:-
ในทางราบ คือถอนปิดคันเร่งให้สุด เพื่อเรียก Engine Brake มาหน่วงให้รถไหลช้าลง ในแตละเกียร์ แต่ต้องสัมพันธ์กับความเร็วรถและความเร็วรอบเครื่อง การลดเกียร์ลงต่ำ และเรียก Engine Brake แต่ละเกียร์ เพื่อให้ผู้ขับสามารถควบคุมรถ และการทรงตัว ได้ง่าย
:125:-
ในทางลาดชัน ทางขึ้นเขา ลงเขา [/b] มันทำให้ระบบเบรคปรกติของรถ"ไม่ร้อน"เกินไป ทำให้ระบบเบรคยังคงสมบูรณ์พอที่จะใช้เบรคได้ดีในการเบรคครั้งต่อๆไปครับ ส่วนใหญ่จะเป็น ** ตอนลงเขา ** ใช้ในสถานการณ์ ตอนที่รถพุ่ง ลงจากเขา หรือเนินลาดชันยังไงล่ะครับ หรือเส้นทางลงเขาตามภาคเหนือที่เป็นทางโค้งยาวหลายสิบหลายร้อยกิโลเมตร ถ้าใช้เกียร์สูงรถก็จะไหลเร็วเกินไป ทำให้รถพุ่งทะยานไปเร็วขึ้นๆๆ พอถึงโค้งเราต้องบเบรค แต่เมื่อเจอหลายโค้ง ก็เบรคหลายครั้ง จะทำให้ผ้าเบรคซึ่งเสียดสีกับจานเบรคบ่อยครั้ง (ที่เรียกว่า เลียจานเบรค) จนจานเบรกระบายความร้อนไม่ทัน ทำให้ร้อน และไหม้ จะได้กลิ่นเหม็นไหม้ลอยเข้ามาแตะจมูก เมื่อระบบเบรคร้อน (ซึ่งได้แก่ ปั้มเบรค น้ำมันเบรค ลูกสูบเบรค จานเบรค ผ้าเบรคฯ) จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการหยุดรถด้วยเบรค จะลดลงอย่างมาก (ขึ้นกับว่าเลียจานเบรคมากน้อยแค่ไหน) ทำให้เวลาที่เราต้องการใช้เบรคจริงๆ เช่น มีสัตว์วิ่งตัดหน้า หรือมีการหักหลบ หยุดสิ่งกีดขวาง ขอบเหวเบื้องหน้า เบรคจะไม่สามารถหยุดแบบสั่งได้เหมือนเดิม (มันจะไหลไปเรื่อยๆ ทีนี้ก็ตัวใครตัวมัน พอใช้เบรคเยอะเกินไปก็จะเกิดความร้อนสูงสะสมในผ้าเบรคและจานเบรคจนเสียสภาพการยึดเกาะ หรือที่เรียกว่า "เบรคแตก" เบรคไหม้ เบรคหาย เบรคไม่อยู่ )
ดังนั้นความหมายอีกประการของการใช้เอนจิ้นเบรค คือ การสงวนระบบเบรคให้มันคงประสิทธิภาพเต็มร้อยอยู่เสมอ(ไม่ว่าจะขึ้นเขาหรือลงห้วย) เพื่อไว้ใช้มันในโอกาสที่เราต้องการใช้เบรคจริงๆ
:125: *** การใช้เอนจิ้นเบรค จะนิยมใช้ตอนลงจากที่สูงชัน คุณคงเคยเห็นป้ายจราจรสีเหลืองติดอยู่ตามริมถนนบนภูเขา ที่มีรูปรถผงกหัวขึ้นเขา และเขียนว่า “โปรดใช้เกียร์ต่ำ” น่านแหละใช่เลยเข้าพื้นที่ Killing Zone แล้ว
หลักการควรจำเอาไว้ใช้ตลอดคือ ขับรถโดยการควบคุมรถของคนขับ หมายถึงการใช้เกียร์ ความเร็วรถ และความเร็วรอบเครื่องให้สัมพันธ์กัน ไม่ปล่อยให้รถไหลไปเองโดยไม่ได้ควบคุมรถ
/// Engine Brake //// แรงหน่วงที่เกิด.... มาจากการดึงรอบเครื่องลง จากการลดเกียร์ลงขณะวิ่ง นั่นละเอนจิ้นเบรคทำงานแล้ว ครับ มากน้อยอยู่ที่ความเร็วรอบและเกียร์ เพื่อชลอรถ ซึ่งถ้าเปลี่ยนเกียร์แล้วไม่คืนคันเร่ง เครื่องจะหน่วงน้อยมาก ถ้าแค่ปิดคันเร่งอย่างเดียวรถจะหน่วงแต่ยังไม่พอทันที หากเปลี่ยนมาเกียร์ต่ำลงมาแล้ว 1 จังหวะ แล้วเครื่องยังไม่ตอบสนอง แสดงอาการหน่วงลดความเร็วให้เห็น ก็ต้องลดเกียร์ลงขณะวิ่ง โดยใช้ Engine Brake มาหน่วงให้รถไหลช้าลง ในแต่ละเกียร์ ไปเรื่อยๆ คู่กับการใช้เบรคหน้าและหลัง แต่ต้องสัมพันธ์กับความเร็วรถและความเร็วรอบเครื่อง เช่น กรณี เมื่อเจอไฟแดงไกลๆ ผมจะไม่เข้าเกียร์ว่าง แต่จะถอนปิดคันเร่ง แล้วลดเกียร์ลง ถอนคันเร่ง ทีละเกียร์จนได้ความเร็วตามที่เราต้องการ และสามารถบิดคันเร่งรถเพื่ิอไปต่อหรือหลบหลีกได้ตามความเร็วรถและความเร็วรอบเครื่อง การลดเกียร์ลงต่ำลง เพื่อให้ผู้ขับสามารถควบคุมรถได้ อย่างนุ่มนวล แต่ยังไม่ต้องการหยุดทันที หลักการ คือ ขับรถโดยการควบคุมรถของการบิดและคลอคันเร่งเพื่อไม่ให้เครื่องกระชากหรือฉุดดึงจนรถเสียการควบคุม ขับ หมายถึงการใช้เกียร์ ความเร็วรถ และความเร็วรอบเครื่องให้สัมพันธ์กัน ไม่ปล่อยให้รถไหลไปเองโดยไม่ได้ควบคุมรถ
การวิ่งมาเร็วๆ แล้วลดเกียร์ลงในทันทีโดยไม่เลี้ยงรอบในแต่ละเกียร์ จะทำให้รอบเครื่องดีดขึ้นสูงอย่างฉับพลัน เกิดแรงกระชากมหาศาลภายในเครื่องยนต์ ฟันเฟือง โซ่ สเตอร์ ฯลฯ ถูกกระชากอย่างรุนแรง ถึงแม้ไม่ทำให้เครื่องพังในทันทีแต่ย่อมมีการสึกหรอตามมาอย่างแน่นอน เมื่อรอบเครื่องทำงานไม่สัมพันธ์กับความเร็ว อัตราการหมุนของล้อก็ไม่สัมพันธ์กับระยะทางที่วิ่ง เสียงยางดังเอี๊ยดๆๆๆ คือล้อหมุนช้ากว่าระยะทางที่เคลื่อนที่ไป ทำให้ยางดีดเด้ง ไม่จับกับพื้นถนน สะบัดซ้ายทีขวาที สูญเสียการควบคุมซึ่งอันตรายมากครับ นั่นละครับที่น่ากลัวสุด ลดเกียร์ โดยไม่สัมพันธ์กับรอบเครื่อง แทนที่จะหน่วงจะกลายเป็นสบัด ไป
" ใช้เกียร์ต่ำลงทีละ Step เพื่อช่วยเบรค ให้เครื่องหน่วง หน่วงมาก หน่วงน้อย อยู่ที่การใช้เกียร์ ไล่ Step คันเร่ง คลัทซ์ วิธีนี้มีประโยชน์มากหากคุณขับรถเร็ว เพราะบางที เบรคอย่างเดียวเลยมันไม่พอ ต้องใช้เกียร์ช่วย "
"
การใช้เอนจิ้นเบรค ปลอดภัยกว่าการใส่เกียร์ว่าง หรือเปลี่ยนเกียร์ลงแต่กำคลัชท์แล้วปล่อยให้รถไหล ครับ "
*** ในสภาพเครื่องยนต์ได้รับการบำรุงรักษาปกติ การใช้เอนจิ้นเบรค ไม่ได้ส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์และเกียร์มากมายอย่างที่คิด
มันเหมือนเป็นช่วงที่เค้นสมรรถนะของมันให้ออกมาเต็มที่นั่นเอง แต่ความสึกหรอ โซ่ สเตอร์
***
ส่วนการสึกหรอ ส่งผล มากน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของ Engine break สาเหตุที่เสียหายน่าจะมาจาก การกระแทกเกียร์ลงจากเกียร์สูง ลงเกียร์ต่ำมาก เช่น 6 โดดลงมา 3 หรือ 2 1
เปลี่ยนเกียร์ ไม่เหมาะสมกับความเร็วและรอบ ไม่ไล่เกียร์ลง ทีละ 1 Step นั่นแหละ
ที่จะทำให้มันสึกหรอเร็วกว่าปกติ เกิดการกระชาก อย่างรุนแรง ถึงเสียหายต่อชุดเกียร์และระบบส่งกำลังได้
***
แต่เหล่านี้ แลกมาเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ก็น่าจะเหมาะสมนะครับ ***
ขอบคุณที่อ่านมาจนจบนะครับ/// หลักสูตรขับรถมอไชด์ ภาคทฤษฏี..แบบจัดเต็ม ///
http://www.honda500thai.com/index.php/topic,7294.0.html*** บทความเป็นของ โรงเรียนสอบขับรถ เซฟ ไดรฟเวอร์ เอดูเคชั่น น่าสนใจดีครับ มีประโยชน์ กับผู้ขับขี่่มากๆๆ
สอนแต่..ทฤษฎี ไม่รับสอนปฏิบัติ ลองอ่านหนังสือตำรา...วิชาการขับขี่รถจักยานยนต์... ดูครับ ละเอียดดีครับ ***
//// ตำราหลักสูตรขับรถมอไชด์ ////
การประเมินความเสี่ยง การเข้าใจความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง การลดความเสี่ยง การปรับพฤติกรรมผู้ขับขี่
ละเอียดและมีสถิติต่างๆๆที่เกี่ยวข้อง ประกอบ อาจลายตาเป็นตัวอักษรล้วน เหมือนอ่านหนังสือตำรา...วิชาการหลักสูตรขับรถมอไชด์
นานๆๆจะเจอแบบวิชาการนี้ ลองพิจารณากันดู ครับ
การขับขี่รถจักยานยนต์ โรงเรียนสอบขับรถ เซฟ ไดรฟเวอร์ เอดูเคชั่น
http://www.safedriver.co.th/-1-.htmlอ่านตำราเสร็จแล้ว ลอง...พิจารณา
ยิ่งได้ใช้ควบคู่....การประเมินการขับขี่่ .... เพื่อ..ความปลอดภัย..ของตัวเราเอง
" มองไกลๆครับ ช้าๆ ถ้าชัวร์ค่อยบิด เดาทางรถคันหน้าและคันถัดไป และถัดๆๆไป "
" ในแง่ของเทคนิค ก็อยู่ที่การพัฒนาทักษะ การคุม การเข้าใจรถ ประกอบกัน
หมั่นใช้รถบ่อยๆ ออกทริปบ่อยๆ ประสบการณ์จะ ทำให้เราแกร่งขึ้น
กฎจราจร อย่าเสี่ยงในจุดที่ไปจำเป็นอย่างช่องแคบ หรือจุดอันตราย สมาธิ การมองไกล และวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดข้างหน้า "
" รู้จักตัวเอง รู้จักรถตัวเอง อ่าน...บนท้องถนนให้ขาด = ไม่ประมาทนั้นเอง "
มิติโลกหลังเที่ยงคืน (เจาะลึก...รู้รอบตัว - มอเตอร์ไซค์) 9 ธันวาคม 2554... คลิป...ทฤษฎี และอื่นๆๆ ***
http://music.ohozaa.com/my/thaiTVPlayer.jsp?guid=20111212014040**** มอเตอร์ไซค์ หลากหลายแง่มุม...สาระความรู้ ..เกี่ยวกับมอเตอร์ไซค์ ...ที่บางที คุณไม่รู้ หรือ...สงสัยอยู่ ***
////// ขับขี่เสี่ยง !!! วัดดวง !!! ดวง..ดี หรือ... ดับ ** ประเมินการขับขี่ ** //////
http://www.er6thailand.com/board/index.php?topic=50293.0/// บาดเจ็บ อุบัติเหตุ BigBike การช่วยเหลือเบื้องต้น ///
http://www.clubversysthailand.com/()/bigbike-11245/แชร์เป็นประสบการณ์ที่ควรรู้ กับอุบัติเหตุของมอเตอร์ไซค์ โดยเฉพาะ Bigbike
กับการช่วยเหลือ ... เบื้องต้นทั้ง...แบบไม่รุนแรง ...รุนแรงและ...ถึงสาหัส ถึง.......ดั..บ
วิธีสังเกตอาการ....ผู้บาดเจ็บ
การเคลื่อนย้าย.... ให้ถูกวิธี ถ้าผิด...อาจหนัก..กว่าเก่า หรือพิการไปตลอดชีวิต
และอาการ....บ่งบอก ที่ต้องรีบ......ส่งโรงพยาบาลให้ถึงมือหมอ....เร็วที่สุดถ้าช้า...หรือรอ
อาจไม่ทัน.....ได้ช่วยเลย
เรียนรู้เพื่อตัวเรา และคนรอบข้าง นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
เป็นหลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น....ที่พยายาม....
ทำความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้....
จาก...ผู้รู้ผู้ที่มีประสบการณ์ตรงกับการกู้...ภัย กู้...ชีพ มาถ่ายทอด มาเล่าสู่กันฟัง