สวัสดีครับ กระทู้ทิปเทคนิคที่2 ของผม ครั้งนี้เรามาหาแรงดันของยางรถที่เหมาะกับแต่ละคนกันดีกว่า

แต่ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจเรื่องความสำคัญลมยางกันก่อนนะครับ

ลมยางสำคัญแค่ไหน?

เมื่อยางมีความสำคัญในการพารถวิ่งไป และเป็นตัวเชื่อมระหว่างรถกับถนน ลมที่อัดแน่นอยู่ในยางก็มีความสำคัญเหมือนกัน
ลมที่อยู่ภายในยางมีความสำคัญหลายอย่างทั้งการคงรูปทรงของยาง ความร้อนภายในยาง การยึดเกาะ การดูดซับแรง และอื่นๆ
ถ้าแรงดันน้อยเกินไป

- ยางจะร้อนมากเกินไปเมื่อวิ่งไปนานๆ (อาจระเบิดได้)
- ควบคุมยาก
- เกิดอาการพับของรถเวลาเข้าโค้ง กรณีล้อหน้า และเลี้ยวไม่เข้า กรณีล้อหลัง
- รถเลื้อยไปมา
- สิ้นเปลืองน้ำมัน
และถ้าแรงดันมากเกินไป

- การยึดเกาะของยางน้อยลง
- ระยะเบรคมากขึ้น
- ซับแรงกระเทือนจากพื้นถนนได้น้อย
- ยางวอมตัวได้ช้า
ดังนั้นการเติมลมยางควรเติมให้มีความดันตามความเหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ควรน้อย หรือมากเกินไป
โดยเฉพาะรถมอเตอร์ไซด์ที่ต้องใส่ใจในเรื่องนี้มากกว่ารถยนต์ซึ่งอาจสร้างผลเสียได้ หรือใช้ประสิทธิภาพได้ไม่เต็มที่
การเติมลมยางควรจะอิงกับน้ำหนักที่บรรทุก บรรทุกน้อยก็เติมน้อย บรรทุกมากก็เติมให้มากขึ้น
ทั่วไปแล้วเราสามารถเติมตามที่คู่มือของรถระบุมาได้ แต่ทางที่ดีเพื่อให้สามารถใช้ยางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรจะอิงกับน้ำหนักที่บรรทุกอยู่จริง โดยในมอเตอร์ไซด์น้ำหนักบรรทุกหลักๆก็คือคนขับ(รวมคนซ้อนด้วย)
ทำให้ค่าแรงดันลมยางที่เหมาะสมของแต่ละคนแตกต่างกันไป เราสามารถหาแรงดันที่เหมาะสมได้จากสูตรต่อไปนี้
สูตรหาแรงดันลมยางที่เหมาะสม ขอเรียกว่าสูตร 10% ซึ่ง 10% นี้หมายถึงค่าของแรงดันลมยางที่เพิ่มหลังจากวิ่งเสร็จใหม่ๆ(ยางร้อน)
จะต้องเพิ่มขึ้นอีก 10% จากค่าแรงดันเมื่อเริ่มต้น(ยางเย็น)
ตัวอย่าง เช่น
ขณะยางเย็นหน้า-หลัง = 28 และ 30 ปอนด์ ตามลำดับ
10% ของตอนยางเย็น = 2.8 และ 3 ปอนด์
เมื่อยางร้อนค่าแรงดันจะต้องได้ = (28+2.8 ) และ (30+3) = หน้า 30.8 ปอนด์ และหลัง 33 ปอนด์
หากวัดแล้วเพิ่มไม่ถึงค่าที่คำนวณไว้ แสดงว่าแข็งไปให้ลดแรงดันลง หรือถ้าเพิ่มเกินกว่าที่คำนวณไว้ แสดงว่าอ่อนไปให้เติมเพิ่ม แล้ววัดคำนวณใหม่ ทำเรื่อยๆจนหาค่าที่ตรงได้
(การเพิ่ม-ลดแรงดันให้ทำตอนยางเย็นแล้วเท่านั้น)
ปล1. ให้ทำการขับแบบปกติโดยบรรทุกน้ำหนักเท่าท่ี่ต้องการจะหาค่าเหมาะสมเป็นเวลาประมาณ 30 นาที ในการหาค่าแรงดันเมื่อยางร้อน
ปล2. สูตรได้ดัดแปลงมาอีกทีนึง จากสูตร 10 20 เพื่อเป็นการเผื่อกรณีมีผู้ช้อนกลางคัน
ปล3. สูตรนี้ใช้กับลมธรรมดาเท่านั้นใช้กับแก๊สไนโตรเจนไม่ได้เพราะแก๊สไนโตรเจนไม่มีการขยายตัวตามความร้อน
และเป็นค่าที่เหมาะสมสำหรับใช้ขับขี่ทั่วไป ไม่ใช่สำหรับใช้ในการแข่งขัน
ปล4. ควรใช้เครื่องมือวัดแรงดันตัวเดียวในการวัด เพราะเครื่องมืออาจมีความผิดเพี้ยนได้ค่าที่ไม่เท่ากัน
จบแล้วครับ ขอบคุณที่อ่านนะครับ
