เครคิดจาก
http://popktb.bloggang.com (ขออนุญาติคัดลอกมาเผยแพร่นะครับ)
อ่านดูแล้ว ผมเป็นว่าเป็นประโยชน์กับชาว Z800 หรือนักบิดทั้งหลาย
หมายเหตุ
การนำไปใช้งานจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานและความเหมาะสมในสถานะการณ์นั้นๆ ไม่ใช้กฎเกณฑ์ที่ตายตัวนะครับ ขอฝากไว้อีกกระทู้ ทางฝรั่งก็พูดถึงเรื่องนี้ไว้เหมือนกันครับ
http://www.z800thailand.com/forum/index.php/topic,1091.msg17461เรื่องของการเชนเกียร์ (change gear)
เชนเกียร์หลายๆคนคงเข้าใจและรู้ความหมายดีอยู่แล้วว่าหมายถึงการลดเกียร์จากเกียร์สูงลงสู่เกียร์ต่ำ การเชนเกียร์สำหรับมือใหม่หรือบุคคลทั่วไปก็คงหมายถึงการลดเกียร์ลงให้เหมาะสมกับความเร็วของรถเท่านั้น แต่สำหรับคนที่มีประสบการณ์การการเชนเกียร์นั้นหมายถึงการลดเกียร์เพื่อให้เหมาะสมกับความเร็วและ........เพื่อใช้งานเอนจิ้นเบรก (engine break) ซึ่งเดี๋ยวจะพูดถึงในบทความถัดไปวันพรุ่งนี้ละกันครับ
แต่ทีนี้การเชนเกียร์ลงหรือการลดเกียร์ลงเพื่อเรียกใช้งานเอนจิ้นเบรกสำหรับมือใหม่มันมีปัญหาหลักอยู่อย่างหนึ่งคือ เชนหรือลดเกียร์แล้วรถเกิดอาการล้อล็อก ตูดปัด หรือล้อหลังล็อกเป็นจังหวะ(คร๊อกๆๆๆๆๆ) ทำให้รถเกิดการเสียหลักหรือไม่สามารถควบคุมรถได้ในขณะที่เกิดอาการล้อล็อกนั้น ถ้าอยู่ในโค้งก็จะทำให้รถตั้งขึ้นและบานออกไปหรือที่บ้านๆ เรียกว่าแหกโค้งนั่นแหละครับ
ซึ่งวิธีแก้อาการล้อล็อกเนื่องมาจากการเชนเกียร์สามารถทำได้
โดยการเบิ้ลคันเร่งแรงๆ ก่อนจะปล่อยคลัชท์ จากปกติที่เราเคยกำคลัชท์และลดเกียร์และปล่อยคลัชท์ เราก็ทำเหมือนเดิมเพียงแต่เราเพิ่มการเบิ้ลเครื่องแรงๆ ก่อนจะปล่อยคลัชท์ออกไปทั้งหมดนี้ใช้เวลาสั้นๆ ในระหว่างช่วงที่รอบที่เราเร่งทิ้งเอาไว้ก่อนหน้านี้กำลังลดลงจากจุดสูงสุดถึงรอบก่อนที่จะลดเกียร์ลงเท่านั้นเช่นวิ่งมา 5000 รอบ(rpm) แล้วกำคลัชท์แล้วเบิ้ลไปถึง 7000 รอบและปิดคันเร่ง เราจะใช้ประโยชน์จากมันได้คือช่วงที่รอบกำลังตกระหว่าง 7000 รอบ
ลงมาถึง 5500 รอบเท่านั้น ถ้ารอยต่ำจนถึง 5000 รอบเท่าเดิมก็เท่ากับที่เราเบิ้ลเครื่องไปก็ไม่มีความหมาย เราจะสังเกตได้จากนักแข่งที่ก่อนจะถึงโค้งแล้วต้องลดเกียร์ลง 2-3 เกียร์ เราจะได้ยินเสียงเค้าเบิ้ลเครื่องแรงๆเท่ากับจำนวนเกียร์ที่เค้าเชนลงในช่วงสุดทางตรงก่อนจะถึงโค้ง 2-3 ครั้ง
ถ้านึกไม่ออกว่าเบิ้ลเครื่องเอาไว้แล้วมันจะช่วยได้ยังไง ให้นึกถึงนักกีฬาวิ่งผลัดก่อนที่นักกีฬาผลัดที่สองเค้าจะรับไม้ทำไมเค้าต้องวิ่งไปก่อนจนคนส่งไม้ผลัดแรกจะมาถึง ทำไมเค้าไม่หยุดอยู่ที่เดิมรอให้คนส่งไม้ผลัดแรกมาถึงแล้วค่อยวิ่งออกไป เหตุผลคล้ายๆ กันครับก็คือการรักษาความเร็วของสองคนให้ใกล้ๆ กันได้มากที่สุดจะได้ไม่เกิดความต่างของนักวิ่งคนแรกและนักวิ่งคนที่สองและไม่เกิดการกระชากไม้จนหลุดมือ
ทีนี้มาดูสาเหตุของการเกิดล้อล็อกกันบ้างว่ามันเกิดจากอะไร อาการล้อล๊อกหลังจากเชนเกียร์และปล่อยคลัชท์เกิดจากในขณะที่เราวิ่งมาด้วยความเร็วปกติของเกียร์ที่เราใช้อยู่ ความเร็วของล้อหลังและความเร็วของอัตราทดเกียร์ยังสัมพันธ์กันอยู่ แต่พอเรากำคลัชท์และลดเกียร์ลงล้อหลังก็ยังเร็วใกล้เคียงของเดิมแต่อัตราทดได้เปลี่ยนต่ำลงไปแล้วและรอบก็ตกลงด้วยเพราะเรากำคลัชท์เอาไว้ ทำให้เกิดความต่างของอัตราทดและความเร็วของล้อหลังและเมื่อเกิดความต่างของอัตราทดซึ่งก็คือเกียร์และความเร็วล้อหลัง พอเราปล่อยคลัชท์ปุ๊บความเร็วของล้อก็ถูกฉุดจากอัตราทดของเกียร์ที่ต่ำลงซึ่งมีลูกสูบและกำลังอัดในกระบอกสูบฉุดเอาไว้ให้สูงขึ้นหรืออาจต่ำลงจนเกือบเท่าความเร็วล้อหรือง่ายๆ ก็คือ ล้อจะฉุดให้ข้อเหวี่ยงหมุนเร็วขึ้นแต่ก็มีแรงต้านของกระบอกสูบต้านเอาไว้อยู่ ต่างคนต่างฉุดทำให้ความเร็วล้อช้าลงทำให้เกิดการล็อกล้อจนบางครั้งถึงกับทำให้ล้อหลังล็อกและสะดุดทำให้รถเกิดเสียการทรงตัวนี่คือ สาเหตุของการล้อล๊อก

แล้วทำไมการเบิ้ลเครื่องก่อนปล่อยคลัชท์ถึงช่วยลดอาการล้อล็อกลงได้ เพราะว่าการเบิ้ลรอบเครื่องให้สูงรอไว้และพอเราปล่อยคลัชท์ล้อหลังจะถูกเครื่องยนต์ที่เร่งรอบสูงฉุดเอาไว้ไม่ให้ให้ทั้งรอบเครื่องและรอบล้อช้าลงได้แบบทันทีทันใด แต่จะค่อยๆ ฉุดลงแบบสมูทเพราะว่ารอบเครื่องที่เราเร่งทิ้งเอาไว้เมื่อกี้มันยังมีแรงเฉื่อยของข้อเหวี่ยงช่วยเอาไว้ไม่ให้ล้อหลังฉุดขึ้นไปได้แบบเต็มที่ ทำให้เราสมารถลดความเร็วลงได้แบบสมูทขึ้น ส่วนจะต้องเบิ้ลเครื่องขึ้นไปกี่รอบนั้นก็ต้องใช้ประสบการณ์และความรู้สึกค่อยๆ เรียนรู้ไปเองครับและในจังหวะที่เราปล่อยคลัชท์จะต้องปล่อยในขณะที่รอบกำลังตกจากรอบสูงสุดที่เราเร่งทิ้งเอาไว้เมื่อกี้เท่านั้น ไม่ใช่เบิ้ลเครื่องจนรอบกลับมาอยู่ที่เดิมเบาต่ำๆ เพราะกำคลัชท์เอาไว้แล้วมาปล่อยตอนรอบตกลงเหลือเท่าตอนเดินเบาแบบนี้เป็นผลเสียหนักกว่าเดิมครับ
สมมุติว่าขี่มาที่เกียร์ 4 ที่ 5000 รอบ----กำคลัชท์----ลดเกียร์ลง 1 เกียร์----เบิ้ลเครื่องขึ้นไปเป็น 7000 รอบ 1 ครั้งและรีบปิดคันเร่งและปล่อยคลัชท์ในขณะที่รอบเครื่องกำลังลดลงอยู่ในช่วง 7000 – 5500 รอบ
แบบนี้ถึงจะถูกต้องครับเพราะว่ารอบสูงกว่าตอนที่เราขี่มาปกติตั้ง 1000-2000 รอบ ซึ่ง 1000-2000 รอบ ตรงนี้แหละที่จะช่วยทำให้ความเร็วของล้อที่จะฉุดรอบเครื่องขึ้นสัมพันธ์กับความเร็วรอบที่เราได้เร่งรอเอาไว้แล้วทำให้ช่วยลดความต่างของรอบเครื่องและรอบล้อลงไปได้ ไม่ใช่เบิ้ลแล้วรอจนรอบตกลงมาเหลือ 1000 รอบเพราะเรากำคลัชท์เอาไว้รอบเลยลงมาต่ำเท่ารอบเดินเบาปกติ ทีนี้ล่ะจากที่เคยอยู่เฉยๆ ที่ 5000 รอบซึ่งก็มีปัญหาล้อล็อกอยู่แล้วมาเหลือ 1000 รอบเลยกลายมาเป็นว่าต่ำกว่าเดิมตั้ง 4000 รอบพอปล่อยคลัชท์ออกไปทีนี้ล้อหลังฉุดหนักกว่าเดิมอีกครับ ส่วนว่าใครจะเป็นฝ่ายฉุดใครอันนั้นผมก็ขึ้นอยู่กับจังหวะของแรงต้านในกระบอกสูบกับอัตราทดเกียร์ว่าใครจะมีมากกว่ากัน ถ้าล้อเอาชนะแรงต้านของกระบอกสูบได้ก็จะฉุดให้ข้อเหวี่ยงหมุนเร็วขึ้นกว่าเดิมและค่อยๆ ลดลง หรือถ้าเอนจิ้นเบรคมีมากกว่าแรงเฉื่อยของล้อก็จะถึงให้รอบตกลงกว่าที่วิ่งมาและทำให้ล้อช้าลง ซึ่งไม่ว่าใครจะฉุดได้มากกว่ากันผลสุดท้ายก็คือการลดความเร็วของทั้งสองแบบครับ
เพื่อความใกล้ชิดเพื่อนๆ มากกว่าเดิม ผม(คุณpopktb) ได้เปิดเพจใหม่ในเฟสชื่อว่า
www.facebook.com/ThaiSuperbike กด like กันเยอะๆ นะครับ แล้วเจอกันในเพจใหม่คร๊าบ